25 พฤศจิกายน 2553

โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างงานมัลติมีเดีย (Desktop Author)

โปรแกรม Desktop Author
ความรู้ทั่วไปของโปรแกรม Desktop Author
โปรแกรม Desktop Author เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างเอกสารดิจิตอล เอกสารที่ได้มีลักษณะคล้ายกับหนังสือ คือ มีหน้าปก สารบัญ ข้อความ รูปภาพ สามารถแทรกภาพเคลื่อนไหว ไฟล์ภาพยนตร์ ไฟล์ Flash เพิ่งเสียงบรรยาย สร้างลิงค์ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ผลงานที่ได้มีขนาดไฟล์เล็ก ทำให้สามารถดาวโหลดผ่านเว็บ หรือ ส่งผ่านอีเมล์ และ สามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย (Digital Web Book) โดยอาศัย DNL Reader (www.digitalwebbooks.com)

การใช้งานของโปรแกรม Desktop Author
e-Book ด้วย DesktopAuthor
Desktop Author โปรแกรมสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในรูปแบบหน้าพลิก 3 มิติ (3D Page Turning) ที่เสมือนการเปิดหน้าหนังสือจริง และกำหนดส่วนประกอบได้ลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป คือมีปกหน้า สารบัญ เนื้อหาในรูปแบบข้อความ รูปภาพ และนอกจากนี้ยังสามารถที่จะแทรกภาพเคลื่อนไหว ไฟล์ภาพยนตร์ Flash Movie และเสียงบรรยาย ลงไปในหนังสือได้ โดยผลงานจาก Desktop Author เรียกว่า Digital Web Book (DWB)

มีจุดเด่นคือ
ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็ก
ลักษณะคล้ายกับหนังสือ สามารถสั่งพิมพ์ในแต่ละหน้าหรือทั้งหมดได้
สามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายได้ง่าย หรือสามารถที่จะส่งไฟล์ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) ได้

ความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้งาน
สร้างสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น e-publication including e-brochures, e-books, digital photo albums, e-cards, digital diaries, online resumes, quizzes, exams, tests, forms, surveys รวมทั้ง Shareware E-Books

ความสามารถเด่นของ Desktop Author คือการ e-Book ที่อนุญาตให้ป้อนข้อความ หรือรูปภาพ รวมทั้งสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ ได้เพิ่มเติมภายหลังด้วยความสามารถEditableText/Image/Multimedia ผลงานเป็นได้ทั้งสื่อ Offline ในรูปแบบ .exe สื่อออนไลน์ .html + .dnl ที่มีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการนำเสนอผ่านเว็บ แต่การเรียกดูจำเป็นต้องติดตั้ง DNL Reader ก่อนจึงจะแสดงผลได้ และ Screen Saver (.scr) สำหรับการรักษาอายุจอภาพคอมพิวเตอร์ด้วยสื่อที่สร้างสรรค์ได้ด้วยท่านเอง

ข้อเปรียบเทียบของโปรแกรม Desktop Author กับโปรแกรมอื่น

1.ผลงานมีขนาดเล็ก และแสดงผลได้ทั้ง Online/Offline
2.สนับสนุนการนำเข้าเนื้อหาได้ง่าย ด้วยความสามารถวางและจัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับขนาดหนังสืออัตโนมัติ
3.จัดเลย์เอาท์เนื้อหาได้ง่ายด้วยเครื่องมือ Text box
4.ความสามารถในการโอนข้อมูลขึ้นเว็บด้วยฟังก์ชัน FTP
5.สร้างสรรค์หนังสือได้หลากหลายรูปแบบตามต้องการ ไม่จำเป็นเฉพาะหนังสือเล่มสี่เหลี่ยม
6.รองรับเทคโนโลยีการป้องกันลิขสิทธิ์ด้วยเทคโนโลยี DRM (Digital Rights Management) และระบบจ่ายเงินออนไลน์ (Payment Gateway)
7.ฟังก์ชันเติมภาพได้ตลอดเวลา (Editable image) ทำให้สามารถสร้างสรรค์ digital photo albums ที่ผู้ใช้สามารถนำเข้าภาพได้ตามต้องการ
8.รองรับสื่อ Multimedia ทั้งระบบฝังรวมกับ e-Book หรือ stream Video, Flash และ MP3
9.ฟังก์ชัน Image Pop Up ทำให้สร้างสื่อเนื้อหาแบบโต้ตอบกับผู้ใช้
10.สร้างแบบทดสอบ แบบสำรวจได้ด้วย Eazy Forms tool
11.ผนวกเครื่องมือจัดแต่งภาพพร้อมใช้งาน
12.เชื่อมโยงไปหาเว็บไซต์ เอกสารเพื่อดาวน์โหลด และส่งอีเมล์
13.กำหนดค่าการแสดงผลหรือพลิกหน้าได้ตามต้องการ


ความต้องการระบบ
คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows98/SE, Windows 2000, Windows 2003 หรือ Windows XP
CPU Celeron 300 Mhz (ขั้นต่ำ)
หน่วยความจำ RAM ไม่น้อยกว่า 128MB
จอภาพ SVGA Card สีไม่น้อยกว่า 16bit colors
พื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ 120MB





อ้างอิง
http://www.kr.ac.th/trirat/author/p01.html
http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=970&Itemid=132

11 พฤศจิกายน 2553

หลักการและทฤษฎีของ ALLAN PAIVIO สอดคล้องกับการออกแบบมัลติมีเดีย

ความหมายของ มัลติมีเดีย (Multimedia)
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “มัลติมีเดีย” (Multimedia) มักจะมีความหมายที่ค่อนข้างกว้างไกล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่จะนำมัลติมีเดียไปใช้งานตามความต้องการ ในมุมมองของนักการศึกษา อาจหมายถึง การนำสื่อหลากหลายประเภทมาใช้จัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอน มุมมองของผู้เยี่ยมชมอาจหมายถึงการนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ในมุมมองของคนทำงานด้านผลิตสื่อ อาจหมายถึง การโต้ตอบแลการ ปฎิสัมพันธ์กันระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความหมายที่กล่าวว่ามาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงแค่แนวความคิดในแต่ละมุมมองเท่านั้น โดยทั่วไปคนมักจะกล่าวถึงความหมายของคำว่า “มัลติมีเดีย” โดยมุ่งเน้นไปที่สื่อที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง สื่อประเภทอื่นๆ เช่น เครื่องโทรทัศน์และวิทยุก็จัดได้ว่าเป็นมัลติมีเดีย เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังจัดเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมที่ใช้สำหรับการผลิตสื่อ การนำเสนอและการติดต่อสื่อสารมากที่สุด เนื่องจากมีขีดความสามารถและรองรับการทำงานได้หลากหลาย จึงทำให้คำจำกัดความของมัลติมีเดียมักจะมุ่งเน้นไปที่คอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่
สำหรับคำว่า “มัลติ” (Multi) หมายถึง หลายๆ อย่างผสมรวมกัน (ซึ่งมีศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น Many,Much และ Multiple) ส่วนคำว่า “มีเดีย” (Media) หมายถึง สื่อ ข่าวสาร ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เมื่อนำมารวมกันเป็นคำว่า “มัลติมีเดีย” จึงหมายถึง “การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหวหรืออนิเมชั่น (Animation) เสียง (Sound) และวิดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) และได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

หลักการและทฤษฎีของ ALLAN PAIVIO
ทฤษฎีการเข้ารหัสแบบคู่ที่เสนอโดย Paivio พยายามที่จะให้น้ำหนักเท่ากับและไม่ประมวลผลด้วยวาจาด้วยคำพูด Paivio (1986) สถานะ :"ความรู้ของมนุษย์จะไม่ซ้ำกันในการที่จะได้กลายเป็นพิเศษสำหรับการซื้อขายพร้อมกันด้วยภาษาและอวัจนภาษากับวัตถุและเหตุการณ์แบบฟอร์ม. นอกจากนี้ภาษาของระบบเป็นอย่างยิ่งในการที่จะเกี่ยวกับภาษาโดยตรงเข้าและส่งออก (ในการพูดหรือเขียน) ในขณะที่ในเวลาเดียวกันฟังก์ชั่นการแสดงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่เกี่ยวกับกริยาเหตุการณ์และพฤติกรรม. ทฤษฎีใด representational ต้องรองรับการทำงานแบบคู่นี้. (p 53). (53 p)
ทฤษฎีสมมติว่ามีสองระบบย่อยความคิดหนึ่งเฉพาะสำหรับการแสดงและการประมวลผลของวัตถุที่ไม่เกี่ยวกับกริยา / กิจกรรม (เช่นภาพ), และอื่น ๆ พิเศษสำหรับการติดต่อกับภาษา Paivio also postulates two สองประเภทต่างๆของหน่วย representational :"imagens"สำหรับภาพจิตและ"logogens"สำหรับหน่วยงานทางวาจาที่เขาอธิบายว่าเป็นคล้ายกับ"chunks"ตามที่อธิบายไว้โดยมิลเลอร์ มีการจัดในรูปของสมาคมและลำดับชั้นในขณะที่มีการจัด imagens ในแง่ของความสัมพันธ์ส่วนหนึ่งขายส่ง
ทฤษฎีรหัส Dual ระบุสามประเภทของการประมวลผล : (1) representational, การเปิดใช้งานโดยตรงหรือไม่ด้วยคำพูดแทนวาจา (2) มี Referential การเปิดใช้งานของระบบทางวาจาโดยระบบอวัจนภาษาหรือในทางกลับกันและ (3) associative การประมวลผลการเปิดใช้งานของการเป็นตัวแทนในระบบเดียวกันกับกริยาวาจาหรือ A given task may require any or all of the three kinds of processing. งานที่กำหนดอาจต้องใด ๆ หรือทั้งสามชนิดของการประมวลผล
Example : ตัวอย่าง
การทดลองจำนวนมากที่รายงานโดย Paivio และอื่น ๆ สนับสนุนภาพความสำคัญของความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน ในหนึ่งการทดสอบผู้เข้าร่วมเห็นคู่ของรายการที่แตกต่างกันในการเป็นอวบอัด (เช่น มะเขือเทศ กุณโฑ) และได้ขอให้ระบุว่าเป็นสมาชิกของคู่ได้กลม. วัตถุที่ถูกนำเสนอเป็นคำรูปภาพหรือ - คู่ภาพคำ เวลาการตอบสนองได้ช้าที่สุดสำหรับ - คำคู่คำกลางสำหรับ - คู่คำรูปภาพและรวดเร็วที่สุดสำหรับ - คู่รูปภาพ

Principles : หลักการ :

การเรียกคืน / การรับรู้จะเพิ่มตามข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบทั้งภาพและคำพูด

อ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/21/standard/m02.html

ความสอดคล้องกับการออกแบบมัลติมีเดีย
การออแบบมัลติมีเดียที่ดีนั้นจะต้องมีองค์ประที่ครบก็คือจะประกอบด้วย ข้อความ เสียง รูปภาพ หรือ ภาพเคลื่อนไหว จึงจะทำให้การเรียนรู้ของคนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทฤษฎีการเข้ารหัสแบบคู่จะสอดคล้องกับการออกแบบมัลติมีเดียก็คือทฤษฎีนี้จะกล่าวถึงเรื่องของการใช้ภาษา คำพูด และภาพ เมื่อนำทฤษฎีนี้มาใช้มนการออกแบบมัลติมีเดียก็จะทำให้สื่อของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

10 พฤศจิกายน 2553

ลักษณะมุมกล้อง

จงอธิบายลักษณะมุมกล้องมาโดยละเอียด
ตอบ มุมกล้องในระดับสายตานก (Bird's eye view) เป็นการตั้งกล้องในตำแหน่งเหนือ
ศีรษะโดยตรงของสิ่งที่ถ่าย ภาพที่ถูกบันทึกจะมีมุมมองเช่นเดียวกับสายตานกที่มองดิ่งลงมายัง
พื้นดิน มุมกล้องนี้ให้ความรู้สึกสิ้นหวัง หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ รวมทั้งตกอยู่ภายใต้อำนาจ
การควบคุมของผู้ที่อยู่เหนือกว่า
มุมกล้องระดับสูง (High Angle) ตำแหน่งของกล้องจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าสิ่งที่ถ่ายเวลา
บันทึกภาพจึงต้องกดลงมา มุมนี้จะทำให้มองเห็นเหตุการณ์ทั่วถึง เหมาะที่จะใช้กับฉากที่ต้องการ
แสดงความงามของทัศนยภาพ อีกทั้งมุมนี้ยังทำให้สิ่งที่ถ่ายมองดูเล็กลง ทำให้รู้สึกต่ำต้อย
มุมกล้องระดับสายตา (Eye Level) เป็นการตั้งกล้องในระดับเดียวกันกับสายตาของผู้
ชม การเสนอมุมแบบนี้ทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
มุมกล้องระดับต่ำ (Low Angle) กล้องจะตั้งในระดับต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย เวลาบันทึกภาพต้องเงย
กล้องขึ้น ภาพมุมต่ำจะมีลักษณะตรงข้ามกับมุมสูง คือ จะให้ความรู้สึกว่าสิ่งที่ถ่ายนั้นมีอำนาจ มีค่า
ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม แสดงถึงความสง่างามและชัยชนะ

5. จงให้ความหมายของหัวข้อต่อไปนี้
5.1 Frame
ตอบ frame คือ คำสั่งหนึ่งของภาษา html ซึ่งมีหน้าที่ เรียกแฟ้ม htm ย่อยมาแสดงในหน้าจอเดียวกัน
เช่น สร้าง frame ย่อย 1 เป็นเมนู และอีก frame คอยรองรับการเรียกจากframe ย่อย 1 แฟ้ม htm แบบ frame จะมีหน้าที่เรียกแฟ้ม htm อื่นมาแสดงบนจอภาพ อย่างเป็นระเบียบ โดยมีหน้าที่แบ่งตามแนวนอน หรือแนวตั้ง ว่าแฟ้ม htm ใด จะอยู่บน ล่าง ซ้าย หรือขวา หรือดูจากตัวอย่างข้างล่างนี้ได้ว่า frame ย่อย 1 อยู่ทางซ้าย frame ย่อย 2 อยู่ทางขวา
5.2 Shot
ตอบ ช็อต (Shot) คือ การถ่ายภาพยนตร์ในครั้งหนึ่ง ที่มีช่วงเวลาที่ต่อเนื่องโดยไม่หยุดจังหวะการทำงานของกล้อง ในการถ่ายบันทึกภาพยนตร์เป็นช่วงๆนี้ ต้องการสร้างชุดของเนื้อหาความหมายเป็นหน่วยๆ อาจมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน เช่นอยู่ในสถานที่ที่เดียวกันของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ให้คงความต่อเนื่องด้วย สถานที่ เวลา และเรื่องราว ซึ่งจะมีความแตกต่างระหว่าง



5.3 Scene
ตอบ ซีน (Scene) ในทางการถ่ายภาพยนตร์ หมายถึง สถานที่ (Place) หรือ ฉาก (Set) ที่จัดขึ้น หรือดัดแปลงขึ้น เพื่อใช้ในการแสดง หรือ เพื่อการถ่ายทำภาพยนตร์ในการประกอบเรื่องของภาพยนตร์ ซีนจึงเป็นหน่วยย่อยของเรื่องเล่าด้วยภาพ ซึ่งประกอบด้วยซ็อตที่เกิดขึ้นในสถานทีเดียวกัน และมีเหตุการณ์

5.4 Sequence
ตอบ ซีเควนซ์ (Sequence) คือ ตอน หรือช่วงเหตุการณ์หนึ่งของการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ ซึ่งเกิดจากซีน หลายๆซีนมารวมกัน โดยมีความสมบูรณ์ของเนื้อหา ที่บอกให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวในช่วงเวลา หรือเหตุการณ์หนึ่งๆซีเควนซ์หนึ่งๆ ของภาพยนตร์ อาจประกอบขึ้นด้วยซีนเพียงซีนเดียว หรือ เกิดจากซีน หลายๆซีนมากประกอบกันขึ้นก็ได้ และอาจเป็นได้ที่ซีเควนซ์หนึ่งที่สามารถเล่าเรื่องราวหนึ่งๆให้ผู้ชมเข้าใจในเหตุการณ์ หรือความหมายของภาพยนตร์ช่วงนั้นให้เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์

การเปรียบเทียบระหว่างการ zoom กับการ dolly

จงเปรียบเทียบระหว่างการ zoom กับการ dolly
ตอบ การ ZOOM คือการทำให้ภาพภาพที่ปรากฎบนจอให้ใหญ่ขึ้น (zoom in) หมายถึงเลื่อนใกล้เข้ามา หรืออาจทำให้ดูเล็กลงไป (zoom out) หมายถึง ทำให้ดูไกลออกไป เป็นคำสั่งหนึ่งที่มักพบในโปรแกรมเกี่ยวกับการสร้างภาพ เพราะช่วยให้แก้ไขง่ายขึ้น
การ dolly คือ การเคลื่อนที่กล้องเป็นแนวโค้ง หรือเป็นวงกลม ขณะที่ถ่ายทำวัตถุ ณ จุดเดิม เพื่อให้เห็นวัตถุ หรือสิ่งที่ถ่าย ในแง่มุมต่าง ๆ การเคลื่อนไหวกล้องโดยวิธีเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนที่ออกไปจาก วัตถุพร้อมขาตั้ง คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Dolly in" เป็นการเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุและ "Dolly out"เคลื่อนออกไปจากวัตถุการเคลื่อนที่ช้าหรือเร็วเพียงใดนั้นผู้ควบคุมรายการจะเป็นผู้ออกคำสั่งdolly in หรือ tracking คือการเลื่อนกล้องเข้าไปหาผู้แสดงหรือภาพ สร้างความน่าสนใจ ความรู้สึกตึงเครียด แต่เมื่อกล้องเข้าไปใกล้มาก ภาพกล้องจะมีผลให้เกิดความผิดหวัง เปิดเผยความจริง ความไม่สำคัญ ให้ความสนใจน้อยลงไป
dolly out หรือ tracking back ให้ผลคือความน่าสนใจมีน้อย เป็นการผ่อนคลายความเครียด truck or track การลากกล้องไปทางมุมขวา หรือลากขนานไปกับผู้แสดงที่เคลื่อนที่ไปเคลื่อนกล้องผ่านฉากข้อเปรียบเทียบ การ ZOOM กับการ DOLLY คือ การ ZOOM จะเป็นการเลื่อนเข้าเลื่อนออกเพื่อให้ภาพใหญ่หรือเล็กตามต้องการแต่การ DOLLY คือ เป็นการเลื่อนกล้องโดยการเดินหน้าและถอยหลังแทนวัตถุ แทนสายตาของผู้แสดง

องค์ประกอบของภาพ

2.ให้นิสิตอธิบาย องค์ประกอบของภาพตามความเข้าใจของนิสิตที่ได้เรียนมา
ตอบ สำหรับการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการ มีคุณค่า มีความงามทางด้านศิลปะ นอกจาก จะทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้กล้องถ่ายภาพ และเครื่องมือที่มีคุณภาพแล้ว การจัดองค์ประกอบภาพ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ดังนั้นเราจึงมาศึกษาการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งในบทนี้ จะกล่าวถึงการจัดองค์ประกอบภาพอยู่ 10 ลักษณะ คือ
1.รูปทรง เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่ให้ความรู้สึก สง่างาม มั่นคง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก หรือที่เรียกว่าให้เห็น Perspective หรือภาพ 3 มิติ
2.รูปร่างลักษณะ มีการจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดีนิยมถ่ายภาพในลักษณะ ย้อนแสง
ข้อควรระวังในการถ่ายภาพ ลักษณะนี้คือ วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลังต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้น หมดความงามไป
3. ความสมดุลที่เท่ากัน เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุล นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว
4. ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี รูปทรง ท่าทาง ฉากหน้า ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนในกว่าแบบสมดุลที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า แต่แปลกตาดี
5.ฉากหน้า ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป
ข้อควรระวัง อย่าให้ฉากหน้าเด่นจนแย่งความสนใจจากสิ่งที่ต้องการเน้น จะทำให้ภาพลดความงามลง
6.ฉากหลัง พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญ หากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยให้สิ่งที่ต้องการ เน้นเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป
7.กฏสามส่วน เป็นการจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยใช้เส้นตรง 4 เส้นตัดกันในแนวตั้งและแนวนอน จะเกิดจุดตัด 4 จุด (ดังภาพ) หรือแบ่งเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน การวางจุดสนใจของภาพจะเลือกวางใกล้ ๆ หรือ ตรงจุด 4 จุดนี้ จุดใดจุด หนึ่ง โดยหันหน้าของวัตถุไปในทิศทางที่มีพื้นที่ว่างมากกว่า ทำให้ภาพดูเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป นักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพ และมือสมัครเล่นนิยมจัดภาพแบบนี้มาก
8. เส้นนำสายตา เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปสู่จุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น
9. เน้นด้วยกรอบภาพ แม้ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ
10. เน้นรูปแบบซ้ำซ้อน หรือแบบ Pattren เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่มทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา
ที่ได้กล่าวมาทั้ง 10 ลักษณะ เป็นเพียงการจัดองค์ประกอบภาพที่เป็นที่นิยมกัน และเป็นพื้นฐาน ในการฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพเท่านั้น ผู้ถ่ายภาพ ควรฝึกการจัดองค์ประกอบภาพในลักษณะ ที่แปลกใหม่ อยู่เสมอ ซึ่งเชื่อแน่ว่าคุณต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

ขนาดของภาพ

1.จงอธิบาย หัวข้อต่อไปนี้ อย่างละเอียด
1.1 Extreme Long Shot
ตอบ ภาพไกลมาก (Extreme Long Shot หรือ ELS) ขนาดภาพลักษณะนี้กล้องจะตั้งอยู่ไกลจากสิ่งที่ถ่ายมาก ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพมุม-กว้าง ผู้ชมสามารถมองเห็นองค์-ประกอบของฉากได้ทั้งหมด สามรถมองเห็นสิ่งที่ถ่ายได้เต็มสัดส่วน แม้สิ่งที่ถ่ายนั้นจะมีขนาดเล็กก็ตาม ซึ่งภาพลักษณะนี้ จะใช้เป็นภาพแนะนำ-สถานที่ เหมาะสำหรับการปูเรื่อง เริ่มเรื่อง ซึ่งภาพยนตร์ในต่างประเทศนิยมใส่ไตเติ้ลส่วนหัวไว้ในฉากประเภทนี้ตอนที่ภาพยนตร์เริ่มเข้าเนื้อเรื่อง ภาพขนาดไกลนี้จะสร้างความรู้สึกโอ่อ่า อลังการ แสดงออกถึงความใหญ่โตของสถานที่ ความน่าเกรงขาม ความยิ่งใหญ่ และยังสามารถสร้างความประทับใจรวมถึงสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อีกด้วย เช่น กลุ่มเรือโจรสลัดกำลังแล่นเรือออกสู่ทะเลกว้างโดยมีเรือของหัวหน้าโจรสลัดแล่นออกเป็นลำหน้า ตามด้วยกลุ่มเรือลูกน้องอีกนับ 10 ลำ โดยใช้ภาพขนาดไกลมาก ตั้งกล้องในมุมสูงทำให้ผู้ชมเห็นถึงความยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามของโจรสลัดกลุ่มนี้
เป็นต้น

1.2 Long Shot
ตอบ ภาพไกล (Long Shot หรือ LS) ขนาดภาพแบบนี้ไม่สามารถกำหนดระยะห่างระหว่างกล้องกับสิ่งที่ถ่ายได้ แต่จะกำหนดโดยประมาณว่าสิ่งที่ถ่ายจะอยู่ในกรอบภาพ (Frame) พอดี ถ้าเป็นคน ศีรษะจะพอดีกับกรอบภาพด้านบน ส่วนกรอบภาพด้านล่างก็จะพอดีกับเท้า ซึ่งสามารถเห็นบุคลิก อากัปกิริยาการแสดง การเคลื่อนไหว ตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงหรือในฉาก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถใช้เป็นภาพแนะนำตัวละคร หรือเริ่มฉากใหม่ได้ บางครั้งอาจใช้เป็นภาพในฉากเริ่มเรื่องได้เช่นเดียวกันกับภาพขนาดไกลมาก และบางครั้งภาพขนาดไกลยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทาบริชชิง ช็อต (Establishing Shot) ส่วนองค์ประกอบรอบข้างผู้ชมจะได้เห็นรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น

1.3 Medium Shot up
ตอบ เป็นขนาดของภาพที่แบ่งความรู้สึกกึ่งถ่ายไกลกึ่งปานกลาง ขนาดของภาพจะกว้างกว่า CU แต่แคบกว่า MS

1.4 Medium Shot
ตอบ ภาพปานกลาง Medium Shot หรือ MS) ขนาดภาพลักษณะนี้ถ้าเป็นภาพบุคคล ผู้ชมจะได้เห็นตั้งแต่เอวของนักแสดงขั้นไปจนถึงศีรษะ ขนาดภาพแบบนี้ผู้ชมสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของนักแสดง และรายละเอียดของฉากหลังพอสมควร ซึ่งพอที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆได้ จึงถือได้ว่าเป็นภาพที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ในเรื่องได้ดีขนาดภาพปานกลาง เป็นขนาดภาพที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะใช้เป็นภาพเชื่อมต่อ กล่าวคือ การเปลี่ยนขนาดภาพจากภาพไกลมาเป็น
ภาพใกล้หรือจากภาพใกล้มาเป็นภาพไกลก็ตาม จะต้องเปลี่ยนมาเป็นภาพขนาดปานกลางเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมเนื่องจากภาพจะกระโดดนอกจากนี้ภาพขนาดปานกลางยังนิยมใช้ถ่ายภาพบุคคล 2 คนใน ฉากเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า ภาพ Two Shot ซึ่งนิยมใช้กันมากในภาพยนตร์บันเทิง

1.5 CloseUp
ตอบ ภาพใกล้ (Close-Up หรือ CU, Close Shot หรือ CS) ภาพใกล้ ผู้ชมจะมองเห็นนักแสดงตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป เป็นขนาดภาพที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงอารมณ์ของนักแสดงได้มากที่สุด เพราะการใช้ภาพขนาดใกล้ถ่ายบริเวณใบหน้าของนักแสดง จะสามารถถ่ายทอดรายละเอียด เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในของนักแสดงได้อย่างชัดเจนมาก นอกจากนี้ยังจะทำให้ผู้ชมได้รู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งที่ถ่ายอีกด้วยทั้งนี้เพื่อทำให้เข้าใจถึงรายละเอียดของวัตถุต่างๆ ตามเนื้อหาที่กำลังนำเสนอ และภาพขนาดใกล้นี้ยังสามารถบังคับให้ผู้ชมสนใจในวัตถุที่กล้องกำลังถ่าย หรือสิ่งที่กำลังนำเสนอ

1.6 Big Close Up
ตอบ เป็นภาพถ่ายใกล้มากเป็นการถ่ายภาพระยะใกล้มากอีกลักษณะหนึ่ง แต่ขนาดของภาพกว้างกว่า ECU ภาพจะมีรายละเอียดหรือส่วนประกอบมากขึ้น

1.7 Extreme Close Up
ตอบ ภาพใกล้มาก เป็นภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มากๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นสิ่งที่ถ่าย เพื่อให้ผู้ชมเห็นรายละเอียดของวัตถุ หรือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในกรณีที่วัตถุมีขนาดเล็กมากๆ เช่น การถ่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นหรือถ้าถ่ายใบหน้านักแสดง ก็เพื่อเป็นการเน้นอารมณ์ของนักแสดงเช่น จับภาพที่ดวงตาของนักแสดง ทำให้เห็นน้ำตาที่กำลังไหลออกจากดวงตา เป็นต้นและทั้งหมดนี้ก็เป็นขนาดภาพที่นิยมนำมาถ่ายทอดเรื่องราวของภาพยนตร์ ซึ่งตมความเป็นจริงแล้ว เราสามารถที่จะประยุกต์หรือดัดแปลงขนาดภาพไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ทั้งหมดนี้เป็นขนาดภาพสากลที่ทำให้เรา (ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์) เข้าใจตรงกันว่าต้องการให้ภาพออกมาในลักษณะใดเท่านั้น นอกจากนี้อารมณ์และความรู้สึกที่ผู้ชมจะได้รับขณะชมภาพยนตร์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดภาพเพียงย่างเดียว แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบของภาพยนตร์อื่นๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ และความเป็นภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น