5 กันยายน 2554

อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราแล้ว เราสามารถทราบข่าวสารเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร รายการวิทยุ และจากแหล่งข่าวสารมากมายทั่งทุกมุมโลก ทุกวันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตให้เราทำความรู้จักและศึกษาเพิ่มเติม หนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็ยังลงบทความเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของอินเตอร์เน็ตและใช้งานจากอินเตอร์เน็ตมากขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีการเปิดสอนเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาโทบนอินเตอร์เน็ต จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนเป็นบางรายวิชา เช่น การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเสมือนของนิสิตปริญญาโทโสตทัศนศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

ทุกวันนี้มีการสร้างโปรแกรมประยุกต์ใช้งานบนอินเตอร์เน็ตมากมาย มีสถานีให้บริการเว็บ เกิดขึ้นทั่วโลก ในแต่ละวันมีสถานีใหม่ๆ เกิดขึ้นให้เราเข้าไปใช้งาน จำนวนผู้เข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนต่างพยายามขวนขวายหาทางให้ตนเองมีหมายเลขบัญชีบนอินเตอร์เน็ต (Internet Account) หรือเป็นสาขาย่อย (Node) ของศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider, ISP) เพื่อบริการแก่เจ้าหน้าที่ พนักงานใหม่ในหน่วยงานของตน


อันตรายจากอินเตอร์เน็ต

ประเทศไทยมีการนำระบบอินเตอร์มาใช้หลายปี ส่วนใหญ่เป็นการใช้งานภายในหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ต่อมามีการนำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจสำหรับบุคคลทั่วไป ในปี พ.ศ. 2537 แต่ไม่ได้รับความนิยม สำหรับปี พ.ศ. 2539 แตกต่างกันออกไป ผลจากการที่มีข่าวปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ว่ามีการนำภาพดารามาตกแต่งเป็นภาพโป๊เปลือย แล้วนำไปแจกจ่ายบนอินเตอร์เน็ต กระแสความสนใจเกิดขึ้น ผู้คนทั่วไปเริ่มหันมาสนใจกับอินเตอร์มากขึ้นทุกที

อันตรายของอินเตอร์เน็ตที่พบเห็นได้เด่นชัดที่สุดน่าจะเป็นการใช้อินเตอร์เน็ต ผิดประเภทผิดวัตถุประสงค์ และใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อกล่าวหาและโจมตีคู่แข่ง เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถกระจายไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
แต่อย่างไรอันตรายที่เกิดจากอินเตอร์เน็ตก็นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่เราจะได้รับ


World Wide Web, Web Pages, Web Site และ HTML

ในการบริการอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น E – mail, FTP เป็นบริการที่ได้กว้างขวางและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริการ www จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เข้าไปดูเอกสารซึ่งจะมีทั้งมีทั้งภาพและเสียง หรือภาพยนตร์ประกอบด้วยได้

เอกสารที่เราเปิดดูใน World Wide Web เรียกว่า เว็บเพจ (Web Pages) เรียกสั้นๆว่า เว็บ (Web) สร้างขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกชื่อว่า HTML (HyperText markup Language) ภาษา HTML จะกำหนดรูปแบบหน้าตาของเอกสารเว็บที่ปรากฏบนหน้าจอ และเชื่อมต่อกับเว็บเพจกับข้อมูลอื่นๆ
เอกสารแต่ละหน้ามีการเชื่อมต่อถึงกันในลักษณะที่เราสามารถเรียกดูเอกสารหนึ่งจากเอกสารฉบับอื่นได้ โดยในเว็บเพจจะมี Link เป็นคุณสมบัติที่ทำให้เว็บเพจแตกต่างจากเอกสารทั่วไป เพราะผู้อ่านสามารถโต้ตอบกับข้อมูลได้ โดยการคลิกเมาส์ เพื่อเปิดดูข้อมูลในส่วนที่ต้องการ
บางคนอาจคิดว่าเว็บเพจมีส่วนคล้ายหน้าหนังสือ แต่ที่จริงแล้วเว็บเพจมีความแตกต่างจากหนังสือโดยทั่วไป เพราะเว็บเพจเป็นสื่อที่สามารถโต้ตอบได้การใช้ Link ทำให้เว็บเพจ แตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่นๆ เพราะผู้ใช้สามารถเลือกดูเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยไม่ต้องสนใจข้อมูลมหาศาลในอินเตอร์เน็ต ข้อมูลในเว็บมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ เช่น เว็บตลาดหุ้นจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนั้นเว็บยังสามารถแสดงข้อมูลได้มากกว่าตัวอักษรหรือภาพเว็บเพจสามารถแสดงเสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพยนตร์ได้
แต่ละเว็บไซต์เมื่อพิจารณาดูก็คล้ายๆ หนังสือหนึ่งเล่มซึ่งประกอบด้วยหน้าหนังสือจำนวนมาก หน้าปกหนังสือมีความสำคัญมาก เพราะจะต้องสื่อเนื้อหาหลักของหนังสือในรูปแบบที่สะดุดตา และจูงใจให้คนเปิดอ่านถ้าเปรียบเว็บไซต์เหมือนหนังสือที่ประกอบด้วยเว็บเพจ จำนวนมากโฮมเพจ คือ เว็บเพจหน้าแรกที่มีหน้าที่คล้ายปกหนังสือ
เมื่อเปิดดูโฮมเพจจะพบคำแนะนำการใช้งาน สรุปสิ่งที่น่าสนใจในเว็บไซต์ไปจนถึงหัวข้อที่เชื่อมต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆ


URL, Web Broser

การเปิดดูเว็บเพจ จะต้องมีการระบุตำแหน่งที่เก็บเว็บเพจนั้นในอินเตอร์เน็ต เรียกว่า URL หรือ Uniform Resource Locatution ส่วนสำคัญของ URL มีดังนี้

โปรโตคอล จะแจ้งให้บราวเซอร์ทราบว่าต้องจัดการกับข้อมูลที่พบอย่างไร
สำหรับเว็บเพจโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้มีชื่อเรียกว่า HTTP (HyperText Transfer Protocol)

ชื่อเซิฟเวอร์ จะระบุชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บเพจ
บางครั้งส่วนนี้จะถูกเรียกว่า โดเมนเนม (Domain Name)
เซิฟเวอร์ทุกเครื่องจะมีโดเมนเนมเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร
ชื่อเซิฟเวอร์อาจระบุแทนด้วยตัวเลขเฉพาะของมัน เช่น
195.121.237.1 เป็นต้น

การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมเป็นเครือข่ายในระบบอินเตอร์เน็ต มีคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องดูแลเครือข่าย (Server) และเครื่องลูกข่าย (Client)
จึงเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกับอินเตอร์เน็ตนี้ว่า Client Server Network

โปรแกรมสำหรับเข้า www เรียกว่า บราวเซอร์ (Web Broser) ปัจจุบันมีบราวเซอร์หลายรายที่ใช้สำหรับเปิดดูเว็บเพจถึงแม้แต่ละตัวมีคุณสมบัติคล้ายกัน แต่ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกัน เมื่อเปิดบราวเวอร์เพื่อดูเว็บเพจเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้จะทำหน้าที่เป็นลูกข่าย (Clint) ติดต่อกับเครื่องที่เก็บข้อมูลเว็บเพจที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องดูแลเครือข่าย (Server)

โปรแกรมบราวเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม ได้แก่

- Internet Explorer ของบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ของตระกูลไมโครซอฟท์ เช่น Office 97 ได้อีกด้วย
- Netscape Navigator เป็นบราวเซอร์อีกตัวหนึ่งที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เป็นของบริษัท Netscape Communication ซึ่งบราวเซอร์ทั้ง 2 ตัวนี้มีคุณสมบัติคล้ายกัน เราสามารถ download โปรแกรมทั้งสอง (รุ่นทดลองใช้) ได้จากเว็บไซต์ของบริษัททั้งสอง

เว็บไซต์ (Website) เป็นแหล่งที่รวมของเว็บเพจทั้งหมดที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันของหน่วยงาน หรือองค์กรหนึ่งๆ เมื่อใดที่ใช้โปรแกรมเปิดดูเว็บ (Web Browser Program) บราวเซอร์จะทำการติดต่อกับเว็บไซต์ที่เก็บเว็บเพจนั้น เพื่อทำการโอนย้ายเว็บที่ต้องการมายังเครื่องของผู้ใช้

Web Server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถใช้บราวเซอร์ติดต่อเพื่อขอดูเว็บเพจได้ เว็บเซิฟเวอร์ส่วนใหญ่จะติดต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลาโดยใช้สายส่งความเร็วสูง เพื่อบริการผู้ที่เชื่อมต่อเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น